คำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในพระวรสารสมัยอยุธยา: ความสำคัญต่อการแปลเป็นภาษาไทย
ภัคจิรา ธรรมมานุธรรม
ใกล้รุ่ง อามระดิษ
อัสนี พูลรักษ์
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในการแปลพระวรสาร (Gospel) โดยพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน (Mgr. Louis Laneau) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาบาลีสันสกฤตมีความสำคัญต่อการแปลพระวรสารเป็นภาษาไทยทั้งในด้านความหมายและลีลาภาษา กล่าวคือ ประการแรกคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจแนวคิดทางคริสต์ศาสนา โดยพบการใช้คำยืมภาษาบาลีสันสกฤตผ่านมุมมองทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และประการที่สองคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตมีความสำคัญในการสร้างลีลาแบบวรรณคดีศาสนาร้อยแก้วของไทย โดยพบการใช้คำที่มีความหมายทางพุทธศาสนาและคำที่มีความหมายทั่วไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับในตัวบทวรรณคดีศาสนาของไทยในสมัยเดียวกัน
คำสำคัญ: คำยืมภาษาบาลีสันสกฤต, พระวรสาร, สมัยอยุธยา, การแปลคัมภีร์ไบเบิล
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2566) หน้า 143-167)
Pali-Sanskrit Loanwords in the Thai version of the Gospels from the Ayutthaya Period: The Significance for the Translation into Thai
Pakjira Thammanutham
Klairung Amratisha
Assanee Poolrak
Abstract
The research for this article aimed to study the significance of Pali-Sanskrit loanwords in the translation of the Gospels into Thai by Mgr. Louis Laneau during the reign of King Narai in the Ayutthaya period. The findings show that the Pali-Sanskrit loanwords are important for the translation of the Gospels into Thai in terms of the content and style. Firstly, the Pali-Sanskrit loanwords help provide an understanding of Christian concepts through the use of Buddhist and Hindu terminology. Secondly, the Pali-Sanskrit loanwords are significant for the creation of Thai religious prose style. Pali-Sanskrit loanwords that are Buddhist terms, as well as loan words with general meaning, are used in a similar fashion as in Thai religious texts of the same period.
Keywords: Pali-Sanskrit loanwords, Gospels, Ayutthaya period, Bible Translation
(Published in Journal of Thai Studies Volume 19 Number 1 (June 2023) Page 143 -167)
บทความ/ fulltext : 5_Pakjira.pdf